เมนู

ธรรมนั้น ๆ อาศัยพระนิพพาน ดับไป ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เตสํ นิโรโธ ดังนี้.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงวัฏฏะและวิวัฏฏะ ด้วย
12 บท ในพระสูตรนี้ จึงให้เทศนาจบลงด้วยยอดแห่งพระอรหัตนั่นเอง.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูปบรรลุพระอรหัต โดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.
จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ 2

3. ปฏิปทาสูตร



ว่าด้วยปฏิปทา 2



[19] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา
พวกเธอจงฟังปฏิปทาทั้ง 2 นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[20] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิปทา.
[21] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน. เพราะ
อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะ

สังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ นี้เรียกว่าสัมมาปฏิปทา.
จบปฏิปทาสูตรที่ 3

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ 3



ในปฏิปทาสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาปฏิปทํ ความว่า นี้เป็นปฏิปทา ไม่นำสัตว์ออก
จากทุกข์ เป็นอันดับแรก. ถามว่า ก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
ปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง มิใช่หรือ. อภิสังขารทั้งสองนั้น
เป็นมิจฉาปฏิปทาได้อย่างไร. แก้ว่า เพราะถือว่าวัฏฏะเป็นสำคัญ. สิ่งใด
สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลปรารถนาวัฏฏะกล่าวคือภพ 3 ปฏิบัติ โดยที่สุดอภิญญา 5
หรือสมาบัติ 8 สิ่งทั้งหมดเป็นไปในฝ่ายวัฏฏะ. จัดเป็นมิจฉาปฏิปทา
เพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะ คือ
พระนิพพาน ปฏิบัติ โดยที่สุดถวายทานเพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่งก็ดี
เพียงถวายใบไม้กำมือหนึ่งก็ดี สิ่งทั้งหมดนั้นจัดเป็นสัมมาปฏิปทาโดย
แท้เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ
บุคคลไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจะถึงที่สุดหา
ได้ไม่ ดังนั้น พึงทราบว่า ท่านแสดงมิจฉาปฏิปทาด้วยอำนาจอนุโลม
แสดงสัมมาปฏิปทาด้วยอำนาจปฏิโลม.
ถามว่า ก็ในที่นี้ ท่านถามปฏิปทา จำแนกพระนิพพาน กำหนด
ปฏิปทา แม้ในการตอบ และบทว่า ปฏิปทา ไม่เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน
แต่คำว่า ปฏิปทานี้ เป็นชื่อของมรรค 4 พร้อมด้วยวิปัสสนา เพราะ-
ฉะนั้น บทภาชนะจึงสมด้วยการถามการตอบมิใช่หรือ. แก้ว่า ไม่สม